กีฬาวอลเลย์บอลถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1896 โดยนายวิลเลียม จี.
มอร์แกน ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคม Y.M.C.A. เมืองฮอลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศอเมริกา ซึ่งได้เกิดขึ้นเพียง 1 ปี
ก่อนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 ณ
กรุงเอเธนส์
โดยเขามีความคิดที่ต้องการให้มีกีฬาสำหรับเล่นในช่วงฤดูหนาวแทนกีฬากลางแจ้งเพื่อออกกำลังกายพักผ่อนหย่อนใจยามหิมะตก
เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ
เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม
สูงจากพื้นประมาณ 6 ฟุต 6 นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ข้ามตาข่ายกันไปมา
แต่เนื่องจากยางในของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไป ทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน
จึงเปลี่ยนมาใช้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลก็ใหญ่ หนักและแข็งเกินไป
ทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บจนในที่สุดเขาจึงให้บริษัท Ant G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วยยาง
มีเส้นรอบวง 25-27 นิ้ว มีน้ำหนัก 8-12 ออนซ์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโทเนตต์" (Mintonette)
ค.ศ.1896 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟีลด์
(Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน
ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์
อัลเฟรด ที เฮลสเตด (Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโทเนตต์ (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball)
โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ
โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอลตกพื้น
ค.ศ.
1928 ดร.จอร์จ เจ ฟิเชอร์ (Dr. George J.
Fisher) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกาการเล่นวอลเลย์บอล
เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลในระดับชาติ
และได้เผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล
การเข้ามาในประเทศไทย
วอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงไหนนั้นยังไม่มีหลักฐานแน่ชัด
แต่ชาวไทยบางกลุ่มเริ่มเล่นและแข่งขันวอลเลย์บอลในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปี 2477 กรมพลศึกษาได้จัดพิมพ์กติกาเผยแพร่โดยอาจารย์นพคุณ
พงษ์สุวรรณซึ่งจัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปีและบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรกโดยใช้กติกาการเล่นระบบ
9 คน
และตั้งแต่นั้นมากีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อปี 2500 ได้มีการประชุมหารือพิจารณาจัดตั้งสมาคมขึ้นมารับผิดชอบ
จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (Amateur
Volleyball Association of Thailand) อย่างเป็นทางการขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 และเปลี่ยนระบบการแข่งขันเป็น 6 คน และต่อมาได้บรรจุเข้าในหลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเมื่อปี 2521หลักสูตรชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเมื่อปี 2524[1]
องค์กรบริหารกีฬาวอลเลย์บอล
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Thailand Volleyball Association) เป็นองค์กรกีฬาระดับชาติ
สำหรับบริหารกิตติกีฬาวอลเลย์บอลของไทย
ทำหน้าที่จัดการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลอย่างเป็นทางการ ทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด และให้การสนับสนุนวอลเลย์บอลทีมชาติของไทย
สมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย เป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลให้กีฬาวอลเลย์บอลของไทยเป็นที่ยอมรับทั้งระดับทวีปและระดับโลก
สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หัวหมาก กรุงเทพมหานคร
สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย (อังกฤษ: Asian Volleyball Confederation (AVC)) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เอวีซี เป็นองค์กรกีฬาระดับทวีป
สำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอลในทวีปเอเชียและเขตโอเชียเนีย ทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียเป็นสมาชิกของสหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ (ฝรั่งเศส: Fédération Internationale de Volleyball (FIVB)) หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า เอฟไอวีบี เป็นองค์กรกีฬาระดับโลก เป็นองค์กรสูงสุดสำหรับบริหารกีฬาวอลเลย์บอล
ทั้งวอลเลย์บอลในร่มและวอลเลย์บอลชายหาด สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ประวัติสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
จากการที่ประเทศไทยได้ริเริ่มและรับเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาแหลมทอง
(Southeast Asian Peninsular Games – SEAP Games หรือเซียพเกมส์)
ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502คณะกรรมการจัดการแข่งขัน กีฬาเซียพเกมส์ได้เลือกกีฬาวอลเลย์บอล
(ประเภททีมชาย) เป็นหนึ่งในชนิดกีฬาที่แข่งขัน แต่ประเทศไทยยังไม่มีสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลมารับผิดชอบ
จึงจำเป็นต้องมีองค์กรระดับชาติที่สมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชียรับรองและต้องเป็นสมาชิกของสมาพันธ์วอลเลย์บอลเอเชีย และจะเป็นสมาชิกของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ถูกต้องตามกฎข้อบังคับฯ อาจารย์แมน พลพยุหคีรี
ซึ่งรู้จักกับบุคลากรในกรมพลศึกษามาก เป็นตัวหลักในการจัดตั้งสมาคม
จึงได้ชักชวนคณะบุคคล รวม 7 คน
ร่วมกันจัดตั้งสมาคมขึ้น ประกอบด้วย พลเอก สุรจิต จารุเศรณี นายกอง วิสุทธารมณ์
นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ นายเสรี ไตรรัตน์ นายนิคม พลสุวรรณ นายแมน พลพยุหคีรี
และนายเฉลิม บุณยะสุนทร โดยในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500
ได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการดำเนินงานจัดตั้งสมาคมและพิจารณาร่างข้อบังคับของสมาคมขึ้น
นายกอง วิสุทธารมณ์ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมให้เป็นผู้แทนดำเนินการ
ได้ติดต่อขออนุญาตจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
และได้รับอนุญาตให้เป็น สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Amateur Volleyball Association of Thailand) ตามคำสั่งของสภาวัฒนธรรมแห่งชาติที่
ต.11/2502 ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2502 โดยมี นายนาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เป็นผู้ลงนามในใบอนุญาตจัดตั้งสมาคมฯ และได้จดทะเบียนสมาคมที่กรมตำรวจ
กระทรวงมหาดไทยอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2502[1] โดยมีวัตถุประสงคเพื่อสนับสนุนและเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลให้เจริญรุดหน้า
และดำเนินการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลในระบบ 6 คน
ในวันที่
1 มิถุนายน พ.ศ. 2502 ได้มีประกาศใช้ข้อบังคับของสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
เป็นฉบับแรก โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร 7 ตำแหน่ง
อยู่ในตำแหน่งสมัยละ 4 ปี คณะกรรมการฯ
ชุดนี้ถือเป็นคณะกรรมการบริหารชุดแรกของสมาคมฯ ประกอบด้วย
พลเอก สุรจิต จารุเศรณี
เป็นนายกสมาคมฯ
นายกอง วิสุทธารมณ์ เป็นอุปนายก
นายแมน พลพยุหคีรี เป็นเหรัญญิก
นายเฉลิม บุณยะสุนทร เป็นเลขานุการ
นายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นกรรมการ
นายเสรี ไตรรัตน์ เป็นกรรมการ
นายนิคม พลสุวรรณ เป็นกรรมการ
หลังจากกีฬาแหลมทองครั้งที่
1 สมาคมฯ
มีกิจกรรมการแข่งขันชิงแชมป์ประเทศไทยระดับประชาชนเพียงรายการเดียว
ปีละครั้งกับกีฬาแห่งชาติ (กีฬาเขตแห่งประเทศไทยเดิม
จัดโดยองค์การส่งเสริมกีฬาแห่งประเทศไทย)
ที่ทีมชาติลงแข่งขันไม่ได้เท่านั้นก่อนซีเกมส์ครั้งที่ 13 (พ.ศ.
2528) มีทีมชาติไทยไม่ได้พัฒนาเพราะได้แข่งขันในระดับนานาชาติเฉพาะกีฬาเซียพเกมส์และกีฬาซีเกมส์
(2 ปี ต่อครั้ง) กีฬาเอเชี่ยนเกมส์ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ
และได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียครั้งที่ 1 ที่เกาหลีใต้ และทีมชายได้ไปแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลกครั้งที่ 5 ที่โตเกียวเท่านั้น
ตั้งแต่ประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับนานาชาติเป็นครั้งแรกในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง
(เซียพเกมส์) ครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2502
จนถึงครั้งที่ 8 ทีมชายได้เหรียญทองเพียงครั้งเดียวในการแข่งขันครั้งที่
1 แต่ยังได้เหรียญเงินและทองแดง ทุกครั้ง ยกเว้นครั้งที่ 5
ที่ไม่ได้ส่งแข่ง และครั้งที่ 7 ที่ไม่ได้เหรียญใดเลย
ส่วนทีมหญิงมีโอกาสได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งที่ 4 และ 8
ซึ่งจัดการแข่งขันที่กรุงเทพฯ และในการแข่งขันครั้งอื่น ๆ
ได้เหรียญเงิน หรือทองแดงทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนชื่อการแข่งขันจากกีฬาแหลมทอง (เซียพเกมส์)
เป็นซีเกมส์ (Southeast Asian Games) ในการแข่งขันครั้งที่ 9
ทีมชาย-หญิง
ยังคงได้หรียญทองแดงส่วนในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพทั้ง 3
ครั้ง คือ ครั้งที่ 5 ปี พ.ศ. 2509 ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2513 และ
ครั้งที่ 8 ปี พ.ศ. 2521 ทีมวอลเลย์บอลไม่ประสบผลสำเร็จเพียงเข้าร่วมการแข่งขันในฐานะเจ้าภาพเท่านั้น
ทีมวอลเลย์บอลไทยประสบภาวะตกต่ำไม่ได้เหรียญใด
ๆ เลย ถึง 3 ครั้ง
ติดต่อกันตั้งแต่กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10–12 ประกอบกับมีปัญหาด้านการบริหารสมาคม
ทำให้เกิดความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารใหม่ โดยได้เรียนเชิญ นายพิศาล
มูลศาสตรสาทร ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ในขณะนั้นเข้ารับตำแหน่งนายกสมาคมฯเมื่อรับตำแหน่งนายกสมาคมฯ ปลัดพิศาลฯ
ได้แนะนำให้เชิญผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเข้ามาร่วมบริหารในสมาคมฯ อีกมากมาย
แม้ปลัดพิศาลฯ จะมีภารกิจมาก แต่ก็ให้ความสนใจกับงานของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่องการที่สมาคมฯ
มีฐานการทำงานที่แข็งแกร่งจากกระทรวงมหาดไทย
ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศให้ความร่วมมือสนับสนุนวงการวอลเลย์บอล
เป็นการกระจายฐานของกีฬาวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยออกไปในวงกว้างทั่วประเทศ
ผู้บริหารของสมาคมฯ
ในยุคต่อ ๆ มาได้ดำเนินงานตามนโยบายที่นายกฯ พิศาลฯ ให้ไว้มาโดยตลอด
และสร้างโอกาสให้ผู้ฝึกสอนและนักกีฬาได้เรียนรู้การพัฒนากีฬาวอลเลย์บอลอย่างต่อเนื่องจนผู้ฝึกสอนไทยมีความสามารถสร้างทีมแข่งขันในระดับทวีปและระดับโลก
ประกอบกับสมาคมฯ มีแผนงานการปฏิบัติงานที่ชัดเจนตามปฏิทินที่กำหนดไว้ทุกปี และมีผู้ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนสามารถจัดการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลก
และร่วมการแข่งขันระดับทวีปและระดับโลกเป็นประจำทุกปี
คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ
ในยุคต่อ ๆ มา ภายใต้การนำของนายกสมาคมฯ นายอารีย์ วงศ์อารยะ นายชนะศักดิ์
ยุวบูรณ์ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช และนายพงศ์โพยม วาศภูติ ตลอดจนนายกสมาคมฯ
คนปัจจุบัน ได้ทำหน้าที่ติดต่อกันมาตามลำดับ
และในแต่ละยุคก็สามารถสร้างผลงานให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งภายในประเทศ
ระดับทวีปและระดับโลกอย่างต่อเนื่อง
การจัดการแข่งขันระดับอายุต่าง ๆ
ภายในประเทศ
ภายหลังการเข้ามาบริหารของนายพิศาล
มูลศาสตรสาทร ในปี พ.ศ. 2528 นอกจากจัดการแข่งขันระดับประชาชนเป็นปฏิทินประจำปีแล้ว
สมาคมฯ
พยายามขยายพื้นที่โดยได้เริ่มจัดการแข่งขันให้มากขึ้นทั่วประเทศเพื่อเป็นการพัฒนาระดับรากหญ้าทั่วประเทศ
ถ้วยแรกที่ประสบความสำเร็จ คือ พาวเวอร์ทัวร์นาเมนท์ เป็นทัวร์นาเมนท์แรกที่จัดกันทั่วประเทศ
โดยคุณจรูญ วานิชชา หรือ จุ่น บางระจัน ร่วมกับ คุณสมิต มานัสฤดี
หัวหน้ากองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐในขณะนั้น
ได้เสนอให้บริษัทรองเท้าบาจาแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งมีคุณเฉลิม จันทร์อุไร
เป็นผู้จัดการ และคุณระวีวรรณ แจ้งเจนกิจ เป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด
ให้เข้ามาช่วยเป็นผู้สนับสนุนสมาคมฯ จัดการแข่งขันในระดับอายุไม่เกิน 18 ปี คัดเลือกผู้ชนะในแต่ละภาคมาแข่งขันในรอบสุดท้ายระดับประเทศ และสมาคมฯ
ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
แต่เนื่องจากสภาพทางเศรษฐกิจในภายหลัง จึงได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนมาเป็นการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จนถึงปัจจุบัน
การแข่งขันระดับอายุ
14 ปี เป็นรายการที่ 2 เริ่มจากบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
เข้ามาให้การสนับสนุนจัดการแข่งขันยุวชนเครือซิเมนต์ไทย
ต่อมาได้เปลี่ยนผู้สนับสนุนมาเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)
และ บริษัทสุพรีม ดิสตริบิวชั่น จำกัด ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรายการวอลเลย์บอลยุวชน
แอร์เอเชีย
การแข่งขันระดับอายุ
16 ปี เป็นรายการที่ 3 ที่สมาคมฯ
จัดขึ้นทั่วประเทศ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัทเสริมสุข จำกัด (มหาชน)
จัดการแข่งขันยุวชนเป๊ปซี่ มาอย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 19 สมาคมฯ ได้ขอพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขันจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นรายการวอลเลย์บอลยุวชน เอสโคล่า บริษัทไลอ้อน
(ประเทศไทย) จำกัด ในเครือสหพัฒนพิบูล เริ่มเข้ามาช่วยการแข่งขันในระดับอายุ 12
ปี ไลอ้อนคัพ ซึ่งเป็นการจัดที่ไม่ค่อยมีใครอยากจัด
แทบจะไม่ได้ผลตอบแทนจากการประชาสัมพันธ์เลย
เพราะไม่ค่อยมีผู้สนใจกับการแข่งขันของเด็กๆ อายุ 12 ปี
สักเท่าไร ช่วงหลังเมื่อเครือสหพัฒน์หยุดสนับสนุน บริษัทสยามกว้างไพศาล
เข้ามาช่วยจัดการแข่งขันปลายิ้ม มินิวอลเลย์บอล ได้นำทีมที่ชนะเลิศไปแข่งขันและทัศนศึกษาที่สิงคโปร์
หรือฮ่องกงบ้าง แม้ระยะหลังบริษัทสยามกว้างไพศาลจะถอนตัวจากการเป็นผู้สนับสนุนไป
สมาคมฯ ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
อย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันได้มีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เข้ามาเป็นผู้สนับสนุนร่วมกับบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด
เป็นการกลับมาจัดได้ใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมฯ
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีที่ทรงพระราชทานถ้วยรางวัลชนะเลิศการแข่งขัน
สมาคมฯ
ได้จัดการแข่งขัน 4 ระดับอายุ คือ 12,
14, 16 และ 18 ปี ต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน
จากการจัดการแข่งขันตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับโลกเป็นประจำทุกปี ทำให้เด็ก ๆ
ในสถาบันการศึกษาหันมาสนับสนุนและเล่นวอลเลย์บอลกันอย่างแพร่หลายทั่วประเทศและทุกระดับอายุเช่นในปัจจุบัน
สนาม
ขนาดสนาม ยาว 18 เมตร กว้าง 9
เมตร ถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งแดนด้วยตาข่าย
ทำให้เกิดพื้นที่แดนละ 9×9 เมตร
พื้นที่โล่ง พื้นที่โล่งเหนือสนามควรสูงอย่างน้อย 7 เมตร แต่แนะนำที่สูง 8 เมตร
ส่วนพื้นที่โล่งรอบสนามควรกว้างอย่างน้อย 3 เมตรขึ้นไป
ในการแข่งขันระดับโลกหรือที่เป็นทางการมักกำหนดพื้นที่โล่งเหนือสนามที่ 12.5
เมตร ด้านข้าง 5 เมตร ด้านหลัง 6.5 เมตร
สีพื้นสนาม สีพื้นสนามต้องเป็นสีอ่อนและสีแตกต่างกับพื้นที่โล่งรอบสนาม
ตาข่าย กว้าง 1 เมตร ขึงเหนือเส้นกลางสนาม
แถบบนของตาข่ายกว้าง 7 ซม.
ประเภทชาย
ส่วนบนของตาข่ายจะสูงจากพื้นสนาม 2.43 เมตร (8 ฟุต)
ประเภทหญิง
ส่วนบนของตาข่ายจะสูงจากพื้นสนาม 2.24 เมตร (7 ฟุต 4 นิ้ว)
เส้นขอบสนาม เป็นเส้นสีขาวรอบพื้นที่สนาม กว้าง 2 นิ้ว (5 ซม.) ประกอบด้วยเส้นข้างและเส้นหลัง
ถือเป็นเส้นแสดงขอบเขตและเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่สนาม
เส้น 3 เมตร เป็นเส้นที่ขนานกับตาข่าย
โดยห่างจากตาข่าย 3 เมตรทั้งสองแดน
เส้นนี้จะแบ่งแดนแต่ละฝั่งออกเป็นแดนหน้ากับแดนหลัง
เป็นเส้นกำหนดขอบเขตการโจมตีของผู้เล่นแดนหลัง
เส้นจำกัดขอบเขตผู้ฝึกสอน เป็นเส้นประที่วาดต่อจากเส้นรุกออกไปด้านข้างยาว 1.75
เมตร แล้วจึงลากตั้งฉากโดยขนานไปกับเส้นข้างจนสุดเส้นหลังของสนาม
เสาอากาศ เป็นเสาที่ติดอยู่ข้างตาข่ายทั้ง 2 ด้านและอยู่เหนือเส้นข้างของสนาม เสาสูง 1.8 เมตร
เส้นผ่านศูนย์กลาง 10 มม. เสาอากาศมักมีแถบสีแดงสลับขาว
เสาอากาศจะยื่นขึ้นไปด้านบนนับจากด้านบนตาข่าย 80 ซม.
เพื่อแสดงสมมติฐานแนวเพดานของเส้นข้าง
บอลจะข้ามตาข่ายอย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อบอลผ่านระหว่างเสาอากาศทั้ง 2 ด้านและไม่สัมผัสโดนเสาอากาศ
อุณหภูมิ อุณหภูมิภายในสนามไม่ควรต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส
ส่วนการแข่งขันระดับโลกหรือที่เป็นทางการมักกำหนดอุณหภูมิอยู่ในช่วง 16–25 องศาเซลเซียส
แสง การแข่งขันระดับโลกหรือที่เป็นทางการมักกำหนดที่ 1,000–1,500 ลักซ์โดยวัดที่ระดับจากพื้นสนามขึ้นมา 1 เมตร
บอล
สหพันธ์วอลเลย์บอลระหว่างประเทศ
กำหนดว่าบอลต้องมีลักษณะทรงกลม ทำจากหนังหรือหนังสังเคราะห์ มีเส้นรอบวง 65–67 ซม. หนัก 260–280 กรัม
และแรงดันภายใน 0.30–0.325 กก./ตร.ซม.
โดยอาจเป็นสีเดียวหรือหลากสีประกอบกัน
ผู้เล่น
ผู้เล่นในสนามมี
2 ทีม ทีมละ 6 คน
แดนหลังประกอบด้วยผู้เล่นในตำแหน่งที่ 5, 6 และ 1 ส่วนแดนหน้าประกอบด้วยผู้เล่นในตำแหน่งที่ 4, 3 และ 2
โดยนับจากซ้าย(ดังรูป) ตำแหน่งที่ 1 คือ
ตำแหน่งผู้เล่นเสิร์ฟ
ตัวตั้ง หรือ ตัวเซ็ต (Setter) มักต่อบอลในบอลที่สองโดยการตั้งบอลไปยังตัวรุกเพื่อทำคะแนน
ตัวเซ็ตต้องมีลักษณะที่ปราดเปรียวว่องไว ไหวพริบดี
มียุทธวิธีในการเลือกตัวรุกเพื่อทำคะแนน
ตัวบล็อกกลาง หรือ ตัวตีกลาง (Middle blocker / Middle hitter) คือผู้เล่นที่สามารถรุกได้อย่างรวดเร็วโดยมักอยู่ใกล้ตัวเซ็ต
รวมทั้งมีการบล็อกที่ดี
นอกจากนี้ยังต้องสามารถขึ้นบล็อกคู่ด้านข้างของสนามได้เป็นอย่างดี
แต่ละทีมมักจะมีผู้เล่นตำแหน่งนี้ 2 คน
ตัวตีด้านนอก หรือ ตัวตีด้านซ้าย (Outside hitter / Left side hitter) บางครั้งเรียกว่า
ตัวตีหัวเสา ทำหน้าที่บุกจากเสาอากาศด้านซ้าย
มักจะเป็นตัวตบที่คงเส้นคงวาที่สุดของทีมและมักจะได้บอลจากตัวเซ็ตมากที่สุด
กรณีรับบอลแรกไม่เข้าจุด ตัวเซ็ตจำเป็นต้องเซ็ตลูกโด่ง
ท้ายที่สุดมักจะเซ็ตบอลมาให้ตำแหน่งนี้ แต่ละทีมมักจะมีผู้เล่นตำแหน่งนี้ 2
คน
ตัวตีตรงข้าม หรือ ตัวตีด้านขวา (Opposite hitter / Right side hitter) รับหน้าที่เป็นแนวหน้าปกป้องเกมรุกของคู่แข่งเป็นหลัก
อยู่บริเวณเสาอากาศด้านขวา โดยคอยบล็อกตัวตีด้านซ้ายของคู่แข่ง
และยังเป็นดั่งตัวเซ็ตสำรองด้วย
ตัวรับอิสระ หรือ ลิเบโร (Libero) คือผู้เล่นที่ชำนาญเกมรับเป็นพิเศษและไม่จำเป็นต้องตัวสูง
ถือเป็นตัวที่ต่อบอลได้ดีที่สุดของทีม
และจะต้องสวมชุดที่ต่างจากผู้เล่นคนอื่นในทีม
ลิเบโรไม่มีสิทธิ์บล็อกหรือตีบอลขณะบอลอยู่เหนือตาข่ายได้ เมื่อเกมหยุด
ลิเบโรสามารถเปลี่ยนตัวกับผู้เล่นแดนหลังได้โดยไม่ต้องแจ้งผู้ตัดสินและจะไม่นับรวมว่าเป็นการเปลี่ยนตัวของทีม
ลิเบโรสามารถเซ็ตบอลเหนือศีรษะคล้ายตัวเซ็ตได้ก็ต่อเมื่อยืนอยู่หลังเส้นรุกเท่านั้น
นอกจากนี้ลิเบโรไม่มีสิทธิ์เสิร์ฟบอล (ยกเว้นในบางองค์กร เช่น NCAA อนุญาตให้เสิร์ฟได้)
การเล่นการเล่น
ตำแหน่งผู้เล่นวอลเลย์บอล
กรรมการผู้ตัดสินจะเสี่ยงเหรียญเพื่อหาทีมที่จะได้เลือกระหว่าง
เสิร์ฟ/รับเสิร์ฟ หรือเลือกแดน โดยจะทำการเสี่ยงเหรียญในเซ็ตแรกและเซ็ตตัดสิน
ผู้เสิร์ฟ
จะต้องเสิร์ฟจากด้านหลังของสนามโดยยืนไม่เลยแนวเส้นข้างและห้ามเหยียบเส้นหลัง
โยนบอลและตีกลางอากาศให้บอลข้ามตาข่ายไปยังแดนของคู่แข่งภายใน 8 วินาทีหลังกรรมการให้สัญญาณ
ขณะที่มีการเสิร์ฟโดยถูกกติกา
แต่มีผู้เล่นยืนผิดตำแหน่งในขณะนั้น ทีมที่ยืนผิดตำแหน่งจะเสียคะแนน
แต่หากคนเสิร์ฟทำผิดกติกาแม้จะมีการยืนผิดตำแหน่งในขณะนั้นก็จะถือว่าทีมที่เสิร์ฟเป็นฝ่ายเสียคะแนน
ห้ามผู้เล่นทีมรับเสิร์ฟทำการบล็อกหรือตบบอลที่ถูกเสิร์ฟมา
บอลสามารถสัมผัสตาข่ายได้ทั้งในการเสิร์ฟและระหว่างเล่น
แต่ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์สัมผัสตาข่ายในขณะที่บอลยังถูกเล่นอยู่ตามกติกา
เมื่อเสิร์ฟบอลข้ามตาข่าย
แล้วบอลลงในแดนคู่แข่งทันที หรือคู่แข่งพยายามรับบอลจนบอลออกนอกสนามไป เรียกว่า
เอซ (Ace) ทีมที่เสิร์ฟจะได้คะแนนนั้น
ผู้เล่นทีมรับเสิร์ฟ
จะต้องพยายามรับบอลแรกโดยไม่ปล่อยให้บอลตกลงพื้นในแดนของตน
และต่อบอลไปยังผู้เล่นที่เรียกว่าตัวเซ็ต
เพื่อตั้งบอลให้กับผู้เล่นที่จะตีบอลรุกไปยังแดนตรงข้ามเพื่อทำคะแนน
เมื่อบอลตกลงพื้นหรือเกิดความผิดพลาดต่างๆ จะถือว่าการเล่นคะแนนนั้นได้สิ้นสุดลง
ผู้เล่นแต่ละทีม
มีสิทธิ์ต่อบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้งก่อนตีไปยังแดนคู่แข่ง
(ไม่นับรวมการบล็อก) โดยผู้เล่นแต่ละคนไม่มีสิทธิ์ต่อบอลติดต่อกัน 2 ครั้ง ยกเว้นมีผู้เล่นคนอื่นมาต่อบอลคั่นก่อน 1 ครั้งจึงจะต่อบอลได้อีก
ผู้เล่นตำแหน่งแดนหลังและลิเบโร
ไม่มีสิทธิ์กระโดดตีบอลหรือบล็อกบอลได้ ยกเว้นผู้เล่นแดนหลังกระโดดมาจากหลังเส้น 3 เมตรเพื่อตีบอล
ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์ใช้ผู้เล่นคนอื่นในการส่งตัวเองเพื่อให้เข้าถึงบอล
ผู้เล่นไม่มีสิทธิ์เล่นบอลหากบอลยังอยู่ในแดนของคู่แข่ง
เมื่อบอลสัมผัสพื้นสนามหรือมีความผิดพลาดในการเล่น
ฝ่ายที่ไม่ได้ทำผิดพลาดจะได้คะแนนนั้นไป
และทีมที่ได้คะแนนจะต้องเป็นฝ่ายเสิร์ฟในคะแนนต่อไป
เมื่อทีมที่เสิร์ฟสามารถทำคะแนนได้
ผู้ที่เสิร์ฟในคะแนนถัดไปต้องเป็นผู้เล่นในตำแหน่งเดิม
แต่สามารถเปลี่ยนตัวผู้เล่นมาเสิร์ฟได้
เมื่อทีมที่เสิร์ฟเสียคะแนนนั้น
ผู้เล่นอีกฝ่ายจะได้สิทธิ์เสิร์ฟคะแนนถัดไปแทน
แต่ต้องหมุนตำแหน่งไปตามเข็มนาฬิกาเพื่อเปลี่ยนคนไปเสิร์ฟ กล่าวคือ
ผู้เล่นตำแหน่งที่ 2 ต้องหมุนลงมาตำแหน่งที่
1 เพื่อเสิร์ฟ และตำแหน่งอื่นๆต้องหมุนตามมาเช่นกัน คือ 2>1>6>5>4>3>2
(ดังรูป)
เปลี่ยนแดนเมื่อจบแต่ละเซ็ต
ส่วนเซ็ตที่ 5 หรือเซ็ตตัดสินจะเปลี่ยนแดนเมื่อทีมใดทีมหนึ่งถึงคะแนนที่
8 ก่อน
ในรายการแข่งขันวอลเลย์บอลระดับลีก (League) หรือทัวร์นาเมนต์ต่างๆ
เช่นการแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่ม จะมีการคิดคะแนนจากผลการแข่งขันในแต่ละนัดที่แข่งขัน
(Match) เพื่อตัดสินทีมที่อันดับดีที่สุด ในที่นี้จะขอกล่าวถึงการคิดคะแนนที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน
ดังนี้
ได้ 3 คะแนนต่อนัด เมื่อ ชนะ 3–0 เซ็ต หรือ 3–1 เซ็ต
ได้ 2 คะแนนต่อนัด เมื่อ ชนะ 3–2 เซ็ต
ได้ 1 คะแนนต่อนัด เมื่อ แพ้ 2–3 เซ็ต
ไม่ได้คะแนน เมื่อ แพ้ 0–3 เซ็ต หรือ 1–3
เซ็ต
อนึ่ง ในบางรายการจะตัดสินทีมที่อันดับดีกว่าโดยดูจากจำนวนนัดที่ชนะก่อนจะดูจากคะแนนที่ได้
และหากหลายทีมมีคะแนนเท่ากัน ก็จะใช้ค่าเพิ่มเติมมาตัดสินอันดับ คือ
อัตราส่วนเซ็ตที่ได้ต่อเซ็ตที่เสียจากทุกนัด
อัตราส่วนคะแนนที่ได้ในเกมต่อคะแนนที่เสียในเกมจากทุกนัด
ประวัติวอลเลย์บอลชายหาด
วอลเลย์บอลชายหาด (อังกฤษ: Beach volleyball) เป็นกีฬากลางแจ้งชนิดหนึ่ง
โดยใช้ผู้เล่นประเภททีม แต่ละทีมจะมีผู้เล่นเพียง 2 คน
ไม่มีผู้เล่นสำรอง ไม่มีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น เล่นบนพื้นสนามทราย บริเวณริมชายหาดทะเล โดยมีตาข่ายกั้นกลางระหว่างทีมแข่งขัน
อาศัยการเล่นด้วยมือเป็นส่วนใหญ่
ห้ามพักลูก หรือเล่นลูกสองจังหวะ ยกเว้นเป็นการรับลูกตบที่มาด้วยความรุนแรง
จึงจะอนุญาตให้ผู้เล่นสามารถพักลูกได้เพียงเล็กน้อย
ส่งลูกบอลให้ทีมที่ร่วมแข่งโดยการตีลูกบอลด้วยมือหรือแขนเพียงข้างเดียว
เพื่อให้ลูกบอลข้ามตาข่ายไปลงยังแดนของคู่แข่งขัน
ทีมใดตบลูกให้ฝั่งตรงข้ามรับไม่ได้ ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ
ในทศวรรษที่ 50 รัฐแคลิฟอร์เนียได้มีการจัดการแข่งขันแบบทีมละ 2
คน ขึ้นอย่างเป็นทางการ ณ ชายหาดสเตท ได้จัดระบบการแข่งขันรูปแบบเซอร์กิต
ครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา และบราซิลได้จัดการแข่งขันทัวร์นาเมนต์แรกขึ้น ต่อมาทศวรรษที่ 60 ได้มีการกำหนดกติกาเกี่ยวกับเรื่องการตบ
และการสกัดกั้นใหม่ แต่ยังไม่มีการประกาศใช้อย่างเป็นสากล
ในปี ค.ศ. 1976 ที่ชายหาดสเตท และแปซิฟิก พาริซาเดส
ได้จัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับมืออาชีพ
จนมาถึงปี ค.ศ. 1982 วอลเลย์บอลชายหาดเป็นกีฬาที่เล่นกันบริเวณชายหาดที่ได้รับความนิยม
โดยเฉพาะที่โคปาคาบานา และอิปานิมา เมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล และสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้เปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็น "Beach
Volleyball Word Tour" เมื่อปี ค.ศ. 1997
ประวัติของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ
ปี ค.ศ. 1895
นายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G.Morgan) ได้คิดค้นเกมการเล่นวอลเลย์บอลขึ้น ที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ (Holyoke, Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อ มินโตเนต (Mintonette)
นายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G.Morgan) ได้คิดค้นเกมการเล่นวอลเลย์บอลขึ้น ที่สมาคม Y.M.C.A. ในเมืองโฮลโยค รัฐแมสซาชูเซตส์ (Holyoke, Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้ชื่อ มินโตเนต (Mintonette)
ปี ค.ศ. 1896
ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Prof.Alfred T.Halstead) ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจาก “มินโตเนต (Mintonette)” เป็น “วอลเลย์บอล (Volleyball)”
ศาสตราจารย์อัลเฟรด ที ฮอลสเตด (Prof.Alfred T.Halstead) ได้เสนอให้เปลี่ยนชื่อจาก “มินโตเนต (Mintonette)” เป็น “วอลเลย์บอล (Volleyball)”
ปี ค.ศ. 1898
ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อเป็นกิจกรรมนันทนาการ (Recreation Activity)
ประเทศแคนาดาได้พัฒนากีฬาวอลเลย์บอลเพื่อเป็นกิจกรรมนันทนาการ (Recreation Activity)
ปี ค.ศ. 1905
ศาสตราจารย์เจ ฮาวาร์ด โครเกอร์ (Prof J. Haward Crocher) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน (China)
ศาสตราจารย์เจ ฮาวาร์ด โครเกอร์ (Prof J. Haward Crocher) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศจีน (China)
ปี ค.ศ. 1908
นายแฟรงกิน เอช บราวน์ (Franklin H.Brown) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น (Japan)
นายแฟรงกิน เอช บราวน์ (Franklin H.Brown) ได้นำกีฬาวอลเลย์บอลเข้าไปเผยแพร่ในประเทศญี่ปุ่น (Japan)
ปี ค.ศ. 1910
นายเอลวู๊ด เอส บราวน์ Elwood S.Brown ช่วยจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลในประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
นายเอลวู๊ด เอส บราวน์ Elwood S.Brown ช่วยจัดตั้งสมาคมวอลเลย์บอลในประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)
ปี ค.ศ. 1913
ได้มีการบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าในการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกล (Far Eastern Games) ครั้งที่ 1 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (Manila, Philippines)
ได้มีการบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าในการแข่งขันกีฬาภาคพื้นตะวันออกไกล (Far Eastern Games) ครั้งที่ 1 ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ (Manila, Philippines)
ปี ค.ศ. 1918
ได้กำหนดให้ใช้ผู้เล่นข้างละ 6 คน
ได้กำหนดให้ใช้ผู้เล่นข้างละ 6 คน
ปี ค.ศ. 1922
ได้กำหนดกติกาให้แต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และได้มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกีย
ได้กำหนดกติกาให้แต่ละทีมเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง และได้มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลและบาสเกตบอลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเชคโกสโลวาเกีย
ปี ค.ศ. 1928
มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 1 ที่ Brooklyn Central Y.M.C.A. (USA National Volleyball Championships)
มีการก่อตั้งสมาคมวอลเลย์บอลขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ครั้งที่ 1 ที่ Brooklyn Central Y.M.C.A. (USA National Volleyball Championships)
ปี ค.ศ. 1933
ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในการแข่งขันกีฬา Central American และ Caribbean Game ในกรุงซาน ซิลวาดอร์ (San Salvador) ประเทศเอลซัลวาดอร์ (El Salvador)
ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงในการแข่งขันกีฬา Central American และ Caribbean Game ในกรุงซาน ซิลวาดอร์ (San Salvador) ประเทศเอลซัลวาดอร์ (El Salvador)
ปี ค.ศ. 1934
มีการจัดตั้งคณะกรรมการกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติเป็นครั้งแรกภายใต้สหพันธ์แฮนด์บอล
มีการจัดตั้งคณะกรรมการกีฬาวอลเลย์บอลนานาชาติเป็นครั้งแรกภายใต้สหพันธ์แฮนด์บอล
ปี ค.ศ. 1946
ประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตรัสเซียและโรมาเนีย ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการที่ดำเนินการด้วยตนเองขึ้นครั้งแรก
ประเทศโปแลนด์ ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียตรัสเซียและโรมาเนีย ได้ร่วมกันก่อตั้งคณะกรรมการที่ดำเนินการด้วยตนเองขึ้นครั้งแรก
ปี ค.ศ. 1947
14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ อียิปต์ อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอลและเลบานอนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1949)
14 ประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (The Federation International De Volleyball : FIVB) ขึ้นในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และได้เลือกนายพอล ลิบอร์ด (Paul Libaud) เป็นประธานสหพันธ์คนแรก โดยมีประเทศที่ร่วมกันจัดตั้ง ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เชคโกสโลวาเกีย โปแลนด์ อียิปต์ อิตาลี เนเธอแลนด์ เบลเยียม โปรตุเกส โรมาเนีย ตุรกี บราซิล อุรุกวัย ยูโกสลาเวีย (อิสราเอลและเลบานอนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 1949)
ปี ค.ศ. 1948
การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชาย ที่กรุงโรม ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน
การแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศแห่งทวีปยุโรป ครั้งที่ 1 ประเภทชาย ที่กรุงโรม ระหว่างวันที่ 24-26 กันยายน
ปี ค.ศ. 1949
– จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague) ประเทศเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia)
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee-IOC) ได้ประกาศรับรองกีฬาชนิดนี้ แต่ยังอยู่ในฐานะกีฬาที่ไม่ได้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก (Non Olympic Sport)
– การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมชาย (Men’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป (European Champions) ประเภททีมหญิงครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– มีการใช้ระบบการรุก 3 คน และมีการล้ำแดนของตัวเซตที่อยู่แดนหลัง
– จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชิงชนะเลิศของโลกเป็นครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague) ประเทศเชคโกสโลวาเกีย (Czechoslovakia)
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee-IOC) ได้ประกาศรับรองกีฬาชนิดนี้ แต่ยังอยู่ในฐานะกีฬาที่ไม่ได้มีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก (Non Olympic Sport)
– การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมชาย (Men’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– การแข่งขันชิงแชมป์ยุโรป (European Champions) ประเภททีมหญิงครั้งแรก ณ กรุงปราก (Prague)
– มีการใช้ระบบการรุก 3 คน และมีการล้ำแดนของตัวเซตที่อยู่แดนหลัง
ปี ค.ศ. 1951
อนุญาตให้มือสามารถล้ำเหนือตาข่ายได้ ภายใต้เงื่อนไขคือการสกัดกั้น
อนุญาตให้มือสามารถล้ำเหนือตาข่ายได้ ภายใต้เงื่อนไขคือการสกัดกั้น
ปี ค.ศ. 1952
การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมหญิง (Women’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย (Moscow, Russia)
การแข่งขันชิงแชมป์โลก ประเภททีมหญิง (Women’S World Championships) ครั้งแรก ณ กรุงมอสโคว์ ประเทศรัสเซีย (Moscow, Russia)
ปี ค.ศ. 1955
– กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม ครั้งที่ 2” (The 2nd Pan American Games) ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)
– นายมาซาอิชิ นิชิกาว่า (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (Asian Volleyball Confederation : AVC) ขึ้น
– กีฬาวอลเลย์บอลได้ถูกบรรจุเข้าใน “แพนอเมริกันเกม ครั้งที่ 2” (The 2nd Pan American Games) ณ เมืองเม็กซิโกซิตี้ (Mexico City)
– นายมาซาอิชิ นิชิกาว่า (Masaichi Nishikawa) นายกสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่นได้จัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอลแห่งเอเชีย (Asian Volleyball Confederation : AVC) ขึ้น
ปี ค.ศ. 1956
จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (Paris, France) โดยมีทีมชาย 24 ทีม และ หญิง 17 ทีม
จัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกในเวลาเดียวกันเป็นครั้งแรก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส (Paris, France) โดยมีทีมชาย 24 ทีม และ หญิง 17 ทีม
ปี ค.ศ. 1957
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย (Sofia, Bulgaria) และยอมรับกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก และประกาศให้สหพันธ์วอลเลย์นานาชาติ (FIVB) เป็นองค์กรกีฬาสากลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายนเป็นต้นไป
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองโซเฟีย ประเทศบัลแกเรีย (Sofia, Bulgaria) และยอมรับกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในกีฬาโอลิมปิก และประกาศให้สหพันธ์วอลเลย์นานาชาติ (FIVB) เป็นองค์กรกีฬาสากลมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายนเป็นต้นไป
ปี ค.ศ. 1961
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิก (OCOG : Organising Committee of The Olympic Game) แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวด้วย
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) และคณะกรรมการจัดการแข่งขันโอลิมปิก (OCOG : Organising Committee of The Olympic Game) แห่งประเทศญี่ปุ่น ได้บรรจุกีฬาวอลเลย์บอลเข้าเป็นกีฬาชนิดหนึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียวด้วย
ปี ค.ศ. 1963
สหพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป (The European Volleyball Confederation : CEV) ได้จัดตั้งคณะกรรมการในโซนของยุโรป
สหพันธ์วอลเลย์บอลยุโรป (The European Volleyball Confederation : CEV) ได้จัดตั้งคณะกรรมการในโซนของยุโรป
ปี ค.ศ. 1964
– กีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงได้ถูกบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (เหรียญทองหญิง ได้แก่ ทีมญี่ปุ่นเหรียญทองชาย ได้แก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
– ได้มีการปรับปรุงกติกาการสกัดกั้นใหม่ (อนุญาตให้มือทั้งสองลำ้เหนือตาข่ายและอนุญาตให้ถูกลูกขณะสกัดกั้นเกินกว่า 1 ครั้งได้)
– กีฬาวอลเลย์บอลชาย-หญิงได้ถูกบรรจุเข้าในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรกที่จัดขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (เหรียญทองหญิง ได้แก่ ทีมญี่ปุ่นเหรียญทองชาย ได้แก่ ทีมสหภาพโซเวียตรัสเซีย)
– ได้มีการปรับปรุงกติกาการสกัดกั้นใหม่ (อนุญาตให้มือทั้งสองลำ้เหนือตาข่ายและอนุญาตให้ถูกลูกขณะสกัดกั้นเกินกว่า 1 ครั้งได้)
ปี ค.ศ. 1965
– การแข่งขันเวิลด์คัพชาย ครั้งที่ 1 ณ กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ (Warsaw, Poland)
– มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟริกาขึ้น
– การแข่งขันเวิลด์คัพชาย ครั้งที่ 1 ณ กรุงวอซอร์ ประเทศโปแลนด์ (Warsaw, Poland)
– มีการจัดตั้งคณะกรรมการในโซนแอฟริกาขึ้น
ปี ค.ศ. 1966
Dr.Ruben Acosta ได้จัดตั้งคณะกรรมการโซนอเมริกากลางและโซนคาริเบียนขึ้น
Dr.Ruben Acosta ได้จัดตั้งคณะกรรมการโซนอเมริกากลางและโซนคาริเบียนขึ้น
ปี ค.ศ. 1968
สหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เข้าร่วมโซนอเมริกากลาง เพื่อจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอล แห่งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCECA) ตามข้อเสนอของ Dr.Ruben Acosta
สหรัฐอเมริกาและแคนาดาได้เข้าร่วมโซนอเมริกากลาง เพื่อจัดตั้งสหพันธ์วอลเลย์บอล แห่งทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCECA) ตามข้อเสนอของ Dr.Ruben Acosta
ปี ค.ศ. 1971
ได้มีการจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรก โดยสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การดำเนินงานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda
ได้มีการจัดหลักสูตรผู้ฝึกสอนระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรก โดยสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศญี่ปุ่น ภายใต้การดำเนินงานของ Mr.Yutaka Maeda และ Mr.Hiroshi Toyoda
ปี ค.ศ. 1972
สหพันธ์วอลเลย์บอลทั้ง 5 ทวีป ได้แก่ เอเชีย (AVC), แอฟริกา (CEV), อเมริกาใต้ (CSV), อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCERA) ได้จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายแข่งขันกีฬาของแต่ละทวีปขึ้น โดยการรับรองโดยสหพันธ์ของแต่ละทวีป
สหพันธ์วอลเลย์บอลทั้ง 5 ทวีป ได้แก่ เอเชีย (AVC), แอฟริกา (CEV), อเมริกาใต้ (CSV), อเมริกาเหนือและอเมริกากลาง (NORCERA) ได้จัดตั้งคณะกรรมการฝ่ายแข่งขันกีฬาของแต่ละทวีปขึ้น โดยการรับรองโดยสหพันธ์ของแต่ละทวีป
ปี ค.ศ. 1973
การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพหญิง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอุรุกวัย (Uruguay)
การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์คัพหญิง ครั้งที่ 1 ที่ประเทศอุรุกวัย (Uruguay)
ปี ค.ศ. 1974
มีการถ่ายทอดสดเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกจากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ
มีการถ่ายทอดสดเป็นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชาย-หญิงชิงแชมป์โลกจากประเทศเม็กซิโกไปยังประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ
ปี ค.ศ. 1975
– มีการจัดประชุมและส่งเสริมมินิวอลเลย์บอลขึ้นที่ประเทศสวีเดน
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งทวีปแอฟริกา ณ เมืองดากา ประเทศเซเนกัล (Dakar, Senegal)
– มีการจัดประชุมและส่งเสริมมินิวอลเลย์บอลขึ้นที่ประเทศสวีเดน
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงชนะเลิศแห่งทวีปแอฟริกา ณ เมืองดากา ประเทศเซเนกัล (Dakar, Senegal)
ปี ค.ศ. 1976
– Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก และอนุญาตให้เล่นได้อีก 3 ครั้ง หลังการสกัดกั้นได้ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกม ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา (Montreal, Canada)
– ความกว้างของตาข่ายถูกลดให้เหลือ 9 เมตร
– Dr.Ruben Acosta ได้คิดค้นระบบการใช้ลูกบอล 3 ลูก และอนุญาตให้เล่นได้อีก 3 ครั้ง หลังการสกัดกั้นได้ถูกนำมาใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกม ณ เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา (Montreal, Canada)
– ความกว้างของตาข่ายถูกลดให้เหลือ 9 เมตร
ปี ค.ศ. 1977
การแข่งขันระดับเยาวชน (อายุตำ่ กว่า 21 ปี ) ชาย-หญิง ชิงแชมป์โลกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล (Brazil)
การแข่งขันระดับเยาวชน (อายุตำ่ กว่า 21 ปี ) ชาย-หญิง ชิงแชมป์โลกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล (Brazil)
ปี ค.ศ. 1980
กติกาของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็น 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนเป็นครั้งแรก ตามผลจากการเสนอของประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ที่กรุงมอสโคว์และได้มีการรับรองเกี่ยวกับนักกีฬาอาชีพ
กติกาของสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้มีการพัฒนาขึ้นเป็น 2 ภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศสและภาษาสเปนเป็นครั้งแรก ตามผลจากการเสนอของประเทศเม็กซิโก ในการประชุมใหญ่ที่กรุงมอสโคว์และได้มีการรับรองเกี่ยวกับนักกีฬาอาชีพ
ปี ค.ศ. 1982
ได้มีการลดแรงดันลมของลูกบอลจาก 0.45 เป็น 0.40 กิโลกรัม /ตารางเซนติเมตร
ได้มีการลดแรงดันลมของลูกบอลจาก 0.45 เป็น 0.40 กิโลกรัม /ตารางเซนติเมตร
ปี ค.ศ. 1984
– Dr.Ruben Acosta ได้รับเลือกให้ขึ้นเป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (2nd FIVB President) แทนนาย Pual Libaud ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ
– สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ย้ายจากกรุงปารีสไปยังเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Lausame, Switzerland)
– Dr.Ruben Acosta ได้รับเลือกให้ขึ้นเป็นประธานสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (2nd FIVB President) แทนนาย Pual Libaud ผู้ก่อตั้งสหพันธ์ฯ
– สำนักงานใหญ่ของสหพันธ์ฯ ได้ย้ายจากกรุงปารีสไปยังเมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (Lausame, Switzerland)
ปี ค.ศ. 1985
– คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง 5 โครงการหลัก เพื่อพัฒนาวอลเลย์บอลของโลก ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อยกระดับวอลเลย์บอลขึ้นสู่ระดับกีฬาอาชีพ
– ได้มีการจัดการแข่งขัน World Gala เป็นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่งและเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลกได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล
– คณะกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้ให้การรับรอง 5 โครงการหลัก เพื่อพัฒนาวอลเลย์บอลของโลก ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta และมีเจตนามุ่งหมายเพื่อยกระดับวอลเลย์บอลขึ้นสู่ระดับกีฬาอาชีพ
– ได้มีการจัดการแข่งขัน World Gala เป็นครั้งแรกที่กรุงปักกิ่งและเมืองเซี่ยงไฮ้ โดยทีมหญิงของประเทศจีนพบกับทีมดาราของโลก การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลกได้จัดเป็นครั้งแรกที่ประเทศบราซิล
ปี ค.ศ. 1990
การแข่งขัน วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก (World League) ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก มีการจัดการแข่งขันมากกว่า 20 เมือง จาก 8 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรีญสหรัฐ
การแข่งขัน วอลเลย์บอลเวิลด์ลีก (World League) ได้เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก มีการจัดการแข่งขันมากกว่า 20 เมือง จาก 8 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรีญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1992
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้เริ่มให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด (Beach Volleyball) World Tour ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการแข่งขันที่ญี่ปุ่น เปอร์โตริโก บราซิล อิตาลี และออสเตรเลีย
สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ (FIVB) ได้เริ่มให้มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด (Beach Volleyball) World Tour ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยมีการจัดการแข่งขันที่ญี่ปุ่น เปอร์โตริโก บราซิล อิตาลี และออสเตรเลีย
ปี ค.ศ. 1993
– สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้กลายเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีประเทศสมาชิกถึง 210 ประเทศ
– เริ่มมีการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์กรังปรีซ์ (Women’S World Grand Prix) ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมี 8 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองมอนเตการ์โล รัฐโมนาโก (Monte Carlo, Monaco) ให้บรรจุวอลเลย์บอลชายหาด เข้าในกีฬาโอลิมปิกเกม 1996 มีการแข่งขันทีมหญิง 16 คู่ ทีมชาย 24 คู่
– สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้กลายเป็นองค์กรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมีประเทศสมาชิกถึง 210 ประเทศ
– เริ่มมีการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิง เวิลด์กรังปรีซ์ (Women’S World Grand Prix) ขึ้นเป็นครั้งแรกโดยมี 8 ประเทศ เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อชิงเงินรางวัล 1 ล้านเหรียญสหรัฐ
– คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) ได้มีการประชุมที่เมืองมอนเตการ์โล รัฐโมนาโก (Monte Carlo, Monaco) ให้บรรจุวอลเลย์บอลชายหาด เข้าในกีฬาโอลิมปิกเกม 1996 มีการแข่งขันทีมหญิง 16 คู่ ทีมชาย 24 คู่
ปี ค.ศ. 1994
– อนุญาตให้ลูกถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนรวมทั้งเท้า
– ได้มีการขยายเขตเสิร์ฟจนเต็มเขตพื้นที่ 9 เมตร
– ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการส่งเสริมวอลเลย์บอลปี 2001 ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการของสมาคมวอลเลย์บอลแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพขึ้นรวมทั้งวอลเลย์บอลชายหาดด้วย
– อนุญาตให้ลูกถูกส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ทุกส่วนรวมทั้งเท้า
– ได้มีการขยายเขตเสิร์ฟจนเต็มเขตพื้นที่ 9 เมตร
– ที่ประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติได้รับรองแผนการส่งเสริมวอลเลย์บอลปี 2001 ซึ่งเสนอโดย Dr.Ruben Acosta เพื่อพัฒนาทักษะการบริหารจัดการของสมาคมวอลเลย์บอลแต่ละประเทศให้สามารถจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลอาชีพขึ้นรวมทั้งวอลเลย์บอลชายหาดด้วย
ปี ค.ศ. 1995
ครบรอบ 100 ปี สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มีการเฉลิมฉลอง 100 วัน ในทั่วโลกโดยผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
ครบรอบ 100 ปี สำหรับกีฬาวอลเลย์บอล จัดให้มีการเฉลิมฉลอง 100 วัน ในทั่วโลกโดยผู้เกี่ยวข้องกับกีฬาวอลเลย์บอล
ปี ค.ศ. 1996
กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถูกบรรจุเข้าในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (Atlanta, Jeorgia)
กีฬาวอลเลย์บอลชายหาดได้ถูกบรรจุเข้าในรายการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเป็นครั้งแรก ณ เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย (Atlanta, Jeorgia)
ปี ค.ศ. 1997
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก (ทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง) เป็นครั้งแรก ณ เมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles, USA) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินรางวัลในแต่ละประเภท 600,000 เหรียญสหรัฐ
– การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์ลีกครั้งที่ 8 ได้เพิ่มเงินรางวัลเป็น 8 ล้านเหรียญสหรัฐ
– มีการจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลก (ทั้งประเภททีมชายและทีมหญิง) เป็นครั้งแรก ณ เมืองลอสแองเจลิส (Los Angeles, USA) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเงินรางวัลในแต่ละประเภท 600,000 เหรียญสหรัฐ
– การแข่งขันวอลเลย์บอลเวิลด์ลีกครั้งที่ 8 ได้เพิ่มเงินรางวัลเป็น 8 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี ค.ศ. 1998
การประชุม FIVB World Congress ครั้งที่ 26 มีการประกาศใช้ระบบการนับคะแนนแบบ “Rally Point” และมีการยอมรับอย่างเป็นทางการให้มีการเล่นโดยใช้ตัวรับอิสระ (The Libero Player) ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่กรุงโตเกียว (Tokyo)
การประชุม FIVB World Congress ครั้งที่ 26 มีการประกาศใช้ระบบการนับคะแนนแบบ “Rally Point” และมีการยอมรับอย่างเป็นทางการให้มีการเล่นโดยใช้ตัวรับอิสระ (The Libero Player) ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่กรุงโตเกียว (Tokyo)
ปี ค.ศ. 1999
ทีมหญิงจากประเทศคิวบา (Cuba) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งที่ 4 ในการแข่งขันรายการ FIVB World Cup และทีมชายจากประเทศรัสเซียได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งแรก
ทีมหญิงจากประเทศคิวบา (Cuba) ได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งที่ 4 ในการแข่งขันรายการ FIVB World Cup และทีมชายจากประเทศรัสเซียได้รับตำแหน่งชนะเลิศเป็นครั้งแรก
ปี ค.ศ. 2000
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ประเภทชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลย์บอลในร่มประเภทชาย 12 ทีม หญิง 12 ทีม และสาธารณรัฐคิรินาส (Kiribati) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 218
– ระบบการนับคะแนนแบบ Rally Point ถูกนำไปใช้กับการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
– มีการยอมรับกติกาการเสิร์ฟบอลสามารถถูกตาข่ายได้
– การเฉลิมฉลองให้กับผู้เล่นที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ (Best Players of Century) ได้แก่ Karch Kiraly จากสหรัฐอเมริกา Lorenzo Bernardi จากอิตาลี และ Regla Torres จากเจ้าของแชมป์โอลิมปิก 3 สมัยอย่างคิวบา
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มีการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ประเภทชาย 24 คู่ หญิง 24 คู่ วอลเลย์บอลในร่มประเภทชาย 12 ทีม หญิง 12 ทีม และสาธารณรัฐคิรินาส (Kiribati) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกลำดับที่ 218
– ระบบการนับคะแนนแบบ Rally Point ถูกนำไปใช้กับการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด
– มีการยอมรับกติกาการเสิร์ฟบอลสามารถถูกตาข่ายได้
– การเฉลิมฉลองให้กับผู้เล่นที่ดีที่สุดแห่งศตวรรษ (Best Players of Century) ได้แก่ Karch Kiraly จากสหรัฐอเมริกา Lorenzo Bernardi จากอิตาลี และ Regla Torres จากเจ้าของแชมป์โอลิมปิก 3 สมัยอย่างคิวบา
ปี ค.ศ. 2002
– มีการประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 28 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา (Buenos, Aires, Argentina) ได้มีการกำหนดความสูงของผู้เข้าแข่งขัน ชาย 185 เซนติเมตรขึ้นไป หญิง 175 เซนติเมตรขึ้นไป
– ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมื่อต่างๆ ถึง 8 เมือง
– ประเทศอาร์เจตินา (Argentina) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 6 เมือง
– มีการประชุมใหญ่สหพันธ์วอลเลย์บอลนานาชาติ ครั้งที่ 28 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา (Buenos, Aires, Argentina) ได้มีการกำหนดความสูงของผู้เข้าแข่งขัน ชาย 185 เซนติเมตรขึ้นไป หญิง 175 เซนติเมตรขึ้นไป
– ประเทศเยอรมนี (Germany) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมื่อต่างๆ ถึง 8 เมือง
– ประเทศอาร์เจตินา (Argentina) เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเลย์บอลชายชิงแชมป์โลก โดยมีทีมเข้าร่วม 24 ทีม แข่งขันในเมืองต่างๆ ถึง 6 เมือง
ปี ค.ศ. 2004
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (Athens, Greece) มีการแข่งขันวอลเลย์บอลในร่มประเภททีมชาย จำนวน 12 ทีม ประเภททีมหญิงจำนวน 12 ทีม และวอลเลย์บอลชายหาดจำนวน 24 ทีม หญิง จำนวน 24 ทีม
– ทีมชนะเลิศวอลเลย์บอลประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ ประเทศจีน
– การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ (Athens, Greece) มีการแข่งขันวอลเลย์บอลในร่มประเภททีมชาย จำนวน 12 ทีม ประเภททีมหญิงจำนวน 12 ทีม และวอลเลย์บอลชายหาดจำนวน 24 ทีม หญิง จำนวน 24 ทีม
– ทีมชนะเลิศวอลเลย์บอลประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ ประเทศจีน
ปี ค.ศ. 2006
การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ รัสเซีย
การแข่งขัน FIVB Volleyball World Championship ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และประเภทหญิง ได้แก่ รัสเซีย
ปี ค.ศ. 2007
การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และ ประเภทหญิง ได้แก่ อิตาลี
การแข่งขัน FIVB World Cup ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ บราซิล และ ประเภทหญิง ได้แก่ อิตาลี
ปี ค.ศ. 2008
การแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีน ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเภทหญิง ได้แก่ บราซิล
การแข่งขันโอลิมปิกที่ประเทศจีน ทีมชนะเลิศประเภทชาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และประเภทหญิง ได้แก่ บราซิล
ปี ค.ศ. 2009
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมชายได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันระดับนานาชาติอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันล่าสุดในปี 1992
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมชายได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันระดับนานาชาติอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันล่าสุดในปี 1992
ปี ค.ศ. 2010
– กีฬาวอลเลย์บอลประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ กับการเริ่มฤดูกาลแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ณ ประเทศสิงคโปร์
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมหญิงได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1994 หลังจากที่ประเภททีมชายประสบความสำเร็จในการแข่งขันเมื่อปีก่อนหน้านี้
– การแข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัล Continental Cup ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน (London, England)
– กีฬาวอลเลย์บอลประสบความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ กับการเริ่มฤดูกาลแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเยาวชน ณ ประเทศสิงคโปร์
– การแข่งขันรายการ FIVB Club World Championship ประเภททีมหญิงได้นำกลับมาลงในปฏิทินการแข่งขันอีกครั้ง หลังจากที่มีการแข่งขันครั้งแรกในปี 1994 หลังจากที่ประเภททีมชายประสบความสำเร็จในการแข่งขันเมื่อปีก่อนหน้านี้
– การแข่งขันเพื่อชิงถ้วยรางวัล Continental Cup ถูกกำหนดขึ้นครั้งแรกในการแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาด ที่จะจัดขึ้นในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2012 ณ กรุงลอนดอน (London, England)
ปี ค.ศ. 2011
– ระบบการนับแต้มแบบใหม่ได้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่งขัน โดยได้รับการยืนยันโดยผู้บริหารของ FIVB ในการแข่งขันที่มีการชนะที่ 3 ต่อ 0 หรือ 3 ต่อ 1 โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม และผู้แพ้จะได้ 0 เช่นกันกับการชนะแต้ม 3 ต่อ 2 ซึ่งจะหมายถึง ผู้ชนะได้ 2 แต้ม และผู้แพ้ได้ 1 แต้ม ในกรณีที่แต้มเสมอกันจะนับคะแนนเป็นแบบ Set Ratio ซึ่งจะต่างจากการนับคะแนนแบบ Point Ratio ในอดีตที่ผ่านมา
– ระบบการนับแต้มแบบใหม่ได้มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในการแข่งขัน โดยได้รับการยืนยันโดยผู้บริหารของ FIVB ในการแข่งขันที่มีการชนะที่ 3 ต่อ 0 หรือ 3 ต่อ 1 โดยผู้ชนะจะได้ 3 แต้ม และผู้แพ้จะได้ 0 เช่นกันกับการชนะแต้ม 3 ต่อ 2 ซึ่งจะหมายถึง ผู้ชนะได้ 2 แต้ม และผู้แพ้ได้ 1 แต้ม ในกรณีที่แต้มเสมอกันจะนับคะแนนเป็นแบบ Set Ratio ซึ่งจะต่างจากการนับคะแนนแบบ Point Ratio ในอดีตที่ผ่านมา
ปี ค.ศ. 2012
– มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องเครื่องแบบของผู้เล่นฝ่ายหญิงโดยมีทางเลือกให้ 3 ทาง คือ ผู้เล่นสามารถสวมปลอกหุ้มหัวเข่าความยาวอย่างมากที่สุด 3 เซนติเมตร ไว้เหนือเข่าหรือใส่แบบครึ่งตัวหรือใส่แบบเต็มตัว โดยให้ขึ้นอยู่กับการเคารพในกฎและหรือความเชื่อของแต่ละศาสนา
– มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่องเครื่องแบบของผู้เล่นฝ่ายหญิงโดยมีทางเลือกให้ 3 ทาง คือ ผู้เล่นสามารถสวมปลอกหุ้มหัวเข่าความยาวอย่างมากที่สุด 3 เซนติเมตร ไว้เหนือเข่าหรือใส่แบบครึ่งตัวหรือใส่แบบเต็มตัว โดยให้ขึ้นอยู่กับการเคารพในกฎและหรือความเชื่อของแต่ละศาสนา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น